เว็บไซต์คนท้องถิ่น

รวมกฏหมายเลือกตั้ง ล่าสุดปี 2560 เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เลือกตั้งท้องถิ่น เลือกตั้งนายก อปท เลือกตั้ง อบต. เลือกตั้ง ส.ส.

ประกาศจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561
 
ซึ่งประกาศฉบับนี้ กำหนดให้ ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งแต่ละคนต้องใช้จ่าย ในการเลือกตั้งไม่เกิน 1,500,000 บาท ส่วนพรรคการเมืองต้องใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่เกิน 35,000,000 บาท

ประกาศประเภทของค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561
 
ซึ่งประกาศฉบับนี้ระบุ ตัวอย่างประเภทค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของ ส.ส. และพรรคการเมือง ได้แก่ 
(1) ค่าใช้จ่ายในการสมัครรับเลือกตั้ง เช่น ค่าสมัครรับเลือกตั้ง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการสมัครรับเลือกตั้ง เป็นต้น 
(2) ค่าจ้างแรงงาน เช่น ค่าจ้างผู้ช่วยหาเสียง ค่าจ้างในการปิดป้ายโฆษณาหาเสียง ค่าจ้าง แจกใบปลิว แผ่นพับ รวมทั้งค่าจ้างแรงงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง และไม่มีพฤติการณ์ ที่ส่อไปในการกระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้ง เป็นต้น 
(3) ค่าจ้างทำของ เช่น ค่าจ้างทำเสื้อแจ็กเก็ต หมวก และเสื้อยืด หรืออื่นๆ สำหรับผู้ช่วยหาเสียง เป็นต้น 
(4) ค่าโฆษณาในสื่อต่างๆ เช่น ค่าสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ค่าผลิตสื่อเพื่อการออกอากาศ รวมถึงค่าโฆษณาอื่นที่เป็นการกระทำเพื่อการหาเสียงเลือกตั้ง เป็นต้น 
(5) ค่าจัดทำป้าย เอกสาร สิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่ใช้ในการโฆษณาหาเสียง 
(6) ค่าใช้จ่ายในการหาเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือค่าบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ ทวิตเตอร์ ยูทูป อินสตราแกรม กูเกิ้ลแอปพลิเคชั่น เป็นต้น
(7) ค่าจัดซื้อหรือเช่าวัสดุ และอุปกรณ์สำหรับใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง 
(8) ค่าเช่าสถานที่ และค่าตกแต่งสถานที่ เช่น ค่าเช่าสานักงานเพื่อเป็นศูนย์รณรงค์หาเสียง เลือกตั้ง ค่าเช่าสถานที่เพื่อปราศรัยหาเสียง เป็นต้น 
(9) ค่าเช่ายานพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง หรือค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เช่น ค่าจ้างเหมา รถยนต์ เรือยนต์หรือยานพาหนะอื่น ๆ ค่าน้ามันเชื้อเพลิงเพื่อการหาเสียงเลือกตั้ง ค่าเช่าที่พัก เป็นต้น 
(10) ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้าประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าบริการทางไปรษณีย์ ค่าถ่ายเอกสาร เป็นต้น 
(11) ค่าอาหารและเครื่องดื่ม สำหรับผู้ช่วยหาเสียง
(12) ค่าอบรมผู้สมัครหรือผู้ช่วยหาเสียง
(13) ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมาย หรือเป็นเหตุให้การเลือกตั้งไม่สุจริตและเที่ยงธรรม 

ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำ สถานที่ปิดประกาศเกี่ยวกับการเลือกตั้งและสถานที่ติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561
ซึ่งประกาศฉบับนี้ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ ให้ผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใด ปิดประกาศเกี่ยวกับการเลือกตั้งหรือติดแผ่นป้าย เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ได้เฉพาะในสถานที่ และต้องมีขนาด และจำนวนไม่เกินที่ กกต. กำหนด หากผู้สมัครหรือพรรคการเมืองติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งไม่ถูกต้อง หรือเกินขอบเขตตามที่ประกาศฉบับนี้กำหนด ให้หัวหน้าหน่วยงานมีอำนาจสั่งผู้สมัครให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด และหากไม่ดาเนินการแก้ไขภายในกำหนดเวลาดังกล่าว คณะกรรมการมีอำนาจรื้อถอน หรือปลดออก หรือสั่งให้หน่วยงานอื่น ดำเนินการโดยให้คิดค่าใช้จ่ายกับผู้สมัครหรือพรรคการเมืองนั้น และ กกต. อาจนำมาเป็นเหตุในการสืบสวนหรือไต่สวนตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการสืบสวน การไต่สวน และการวินิจฉัยชี้ขาดได้ 

ระเบียบ กกต. ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบรายการค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561
 
ซึ่งระเบียบฉบับนี้ แต่งตั้ง กำหนดหน้าที่ของ ข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ ให้ปฏิบัติการอันจำเป็นเกี่ยวกับการเลือกตั้ง การสนับสนุนการเลือกตั้ง หรือการสืบสวนหรือไต่สวน (ตามมาตรา 34 ใน พ.ร.ป.ว่าด้วย กกต.) รวมถึงหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบรายการค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง ส.ส. ของผู้สมัครรับเลือกตั้งและหัวหน้าพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ  

ระเบียบ กกต. ว่าด้วย จำนวน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการให้ตามประเพณีหรือเมื่อมีเหตุอันสมควร
และการยื่นคัดค้านเกี่ยวกับการบันทึกค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป พ.ศ.2561

กำหนดจำนวน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการให้ตามประเพณี หรือเมื่อมีเหตุอันสมควร ในการให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ แก่บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคล ของพรรคการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง และสมาชิก พรรคการเมืองซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการยื่นคัดค้านเกี่ยวกับการบันทึกค่าใช้จ่าย
สำหรับการให้เงินตามประเพณี ที่ กกต. อย่างเช่น งานวันเกิด งานบวช งานโกนจุก งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ งานบุญ งานเทศกาล งานขึ้นปีใหม่ งานศพ เป็นต้น
ส่วนเหตุอันสมควร หมายถึง การให้ หรือการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ธรณีพิบัติภัย ตลอดจนภัยอื่นๆ อันมีมาเป็นสาธารณะไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติหรือมีบุคคล หรือสัตว์ ทำให้เกิดขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชน หรือก่อให้เกิดความเสียหาย แก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ 
ทั้งนี้ จะต้องให้ส่วนงานที่รับผิดชอบรวบรวมข้อเท็จจริง พร้อมเสนอความเห็นให้ กกต. พิจารณาสั่งให้เลขาธิการบันทึกไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของพรรคการเมืองในการเลือกตั้งครั้งต่อไป และแจ้งให้พรรคการเมืองทราบ

ระเบียบ กกต. ว่าด้วยแบบบัญชีรายรับ และรายจ่ายค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561
ระเบียบฉบับนี้ กำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แต่ละคนและหัวหน้าพรรคการเมืองจัดทำบัญชีรายรับและรายจ่ายในการเลือกตั้ง รวมทั้งรวบรวมเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริง และยื่นต่อกกต. โดยการใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งให้รวมถึงบรรดาเงิน ทรัพย์สิน หรือ “ประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้” ที่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองยินยอมให้บุคคลใดๆ จ่ายหรือรับว่าจะจ่ายแทน รวมถึงการให้ใช้สถานที่ ยานพาหนะ ทรัพย์สิน หรือการให้บริการโดยไม่คิดมูลค่าหรืออัตราค่าบริการ หรือคิดมูลค่าหรืออัตราค่าบริการน้อยกว่าที่คิดกับบุคคลอื่นโดยปกติทางการค้า (ลดราคา) หรือนำมาให้ใช้โดยไม่คิดค่าตอบแทน(ฟรี) เพื่อประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้ง โดยผู้สมัครหรือพรรคการเมืองนั้นยินยอมหรือไม่คัดต้าน ในกรณีที่นำทรัพย์สินมาให้ใช้ ให้คำนวณตามอัตราค่าเช่าหรือค่าตอบแทนตามปกติในท้องที่นั้น ทั้งนี้ ไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ กกต. จัดให้แก่ผู้สมัครและพรรคการเมืองอย่างเท่าเทียมกันให้ผู้สมัครแต่ละคนและพรรคการเมือง ยื่นบัญชีรายรับและรายจ่ายในการเลือกตั้งต่อกกต.ภายใน 90 วันนับจากวันเลือกตั้ง 

ระเบียบ กกต. ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการสนับสนุนการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561
ระเบียบฉบับนี้ กำหนดเรื่องการโฆษณาหาเสียงทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ส.และพรรคการเมืองแจ้งต่อ กกต. ก่อน โดย ผู้สมัครจะได้เวลาไม่เกิน 5 นาที พรรคการเมืองได้เวลาไม่เกิน 10 นาที
โฆษณาต้องใช้ข้อความถ้อยคำที่สุภาพและรูปแบบที่เหมาะสม ไม่ใส่ร้ายหรือเสียดสีบุคคลหรือพรรคการเมืองใด ไม่ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อย หรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน
นอกจากนี้ เรื่องการจัดเวทีประชันนโยบายบริหารประเทศสำหรับพรรคการเมือง หรือ "เวทีดีเบต" ให้พรรคการเมืองที่จะประชันนโยบายแจ้งความประสงค์ต่อเลขาธิการนับแต่วันที่ พ.ร.ฎ. เลือกตั้งมีผลบังคับใช้  โดยจะจัดเป็น 3 กลุ่ม 
กลุ่มที่ 1 พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครตั้งแต่ 300-350 เขต
กลุ่มที่ 2 พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครตั้งแต่ 200-299 เขต
กลุ่มที่ 3 พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครน้อยกว่า 200 เขต
และในการขึ้นเวทีให้แต่ละพรรคดำเนินการ ดังนี้
(1) ให้หัวหน้าพรรคการเมืองหรือสมาชิกพรรคหรือบุคคลซึ่งพรรคการเมืองเสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ประชันนโยบายบริหารประเทศ
(2) หากกลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 2 หรือกลุ่มที่ 3 กลุ่มใดมีจำนวนพรรคการเมืองมากกว่า 4 พรรคขึ้นไป ให้จับสลากแบ่งกลุ่มเพื่อประชันนโยบายบริหารประเทศโดยแต่ละกลุ่มมีจำนวนพรรคการเมืองตั้งแต่ 2 พรรค แต่ไม่เกิน 4 พรรคการเมือง
 
 
8.  ระเบียบ กกต. ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาทำการ พ.ศ.2561
ระเบียบฉบับนี้ให้เลขาธิการ กกต. มีอำนาจอนุมัติให้พนักงานและลูกจ้างของสำนักกกต. นอกเวลาทำการ หรือ 'โอที' โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) การปฏิบัติงานนอกเวลาในวันทำการปกติ ให้มีสิทธิเบิกงานค่าตอบแทนได้ไม่เกินวันละ 4 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 50 บาท เศษชั่วโมงให้ปัดขึ้น
(2) การปฏิบัติงานนอกเวลาทำการในวันหยุด ให้มีสิทธิเบิกงานค่าตอบแทนได้ไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง ไม่รวมเวลาหยุดพัก ชั่วโมงละ 60 บาท เศษชั่วโมงให้ปัดทิ้ง
(3) การปฏิบัติงานนอกเวลาทำการหลายช่วงเวลาภายในวันเดียวกัน ให้นับเวลาปฏิบัติงานนอกเวลาทำการทุกช่วงเวลารวมกัน เพื่อเบิกค่าตอบแทนสำหรับวันนั้น
 
 
9. ระเบียบ กกต. ว่าด้วย วิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561
ระเบียบ กกต. ฉบับนี้ กำหนดห้ามผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใดนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการหาเสียงเลือกตั้ง และกำหนดห้ามผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใดหาเสียงเลือกตั้งในลักษณะ ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ประกอบอาชีพหรือเป็นเจ้าของกิจการเกี่ยวกับรายการทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่อมวลชน สื่อโฆษณา เช่น นักแสดง นักร้อง นักดนตรี พิธีกร สื่อมวลชน เป็นต้น ใช้ความสามารถ หรือวิชาชีพดังกล่าว เพื่อเอื้อประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้งแก่ผู้สมัครอื่น หรือพรรคการเมือง 
กรณีตามข้อ (1) มิให้ใช้บังคับแก่ผู้สมัครที่ใช้ความรู้ความสามารถทางศิลปะของตน หาเสียงเลือกตั้ง ให้แก่ตนเองโดยไม่ใช้อุปกรณ์ในการแสดง 
(2) แจกจ่ายเอกสารเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้งโดยวิธีการวาง หรือโปรยในท่ีสาธารณะ
(3) หาเสียงเลือกตั้งโดยใช้ถ้อยคำที่รุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย หรือปลุกระดม
(4) ช่วยเหลือเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ให้แก่ผู้ใด ตามประเพณีต่าง ๆ
นอกจากนี้ ยังระบุถึงการ 'หาเสียงออนไลน์' เอาไว้ว่า ในการหาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การหาเสียงผ่านทางเว็บไซต์ โซเซียลมีเดีย ยูทูป แอปพลิเคชัน อีเมล์ เอสเอ็มเอส และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นทุกประเภท ซึ่งจะต้องแจ้งวิธีการหาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามแบบฟอร์มที่ กกต. กำหนดให้ ซึ่งการหาเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์ หากผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใด ทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมืองหรือเป็นการต้องห้าม ให้ กกต. สั่งให้แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือลบข้อมูล และให้เลขาธิการ กกต. แจ้งให้ผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใด ทำการแก้ไข หากไม่แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือลบข้อมูลภายในเวลาที่กำหนด ให้เลขาธิการ กกต. แจ้งหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และผู้ให้บริการ เพื่อพิจารณาดำเนินการ หากมีค่าใช้จ่าย ให้ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองนั้นเป็นผู้รับผิดชอบ และสามารถนำมาเป็นเหตุให้ กกต. ดำเนินการสืบสวนหรือไต่สวนตามระเบียบกกต.ว่าด้วยการสืบสวน การไต่สวนและการวินิจฉัยชี้ขาดได้ 
ซึ่งโทษของการหาเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์ ถูกระบุไว้ในกฎหมายเลือกตั้ง (พ.ร.ป.ว่าด้วย การเลือกตั้ง ส.ส.) มาตรา 156 ว่า ผู้ใดฝ่าฝืน หรือหาเสียงเลือกตั้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไข ที่คณะกรรมการกำหนด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


====================================

ฟอร์มอัปโหลด กฏหมายเลือกตั้ง
=============================


 
{DETAIL}