พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2541
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๔๑”
มาตรา ๒* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นต้นไป *[รก.๒๕๔๑/๔๘ก/๑/๑๗ สิงหาคม ๒๕๔๑]
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๕๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๕๓ ถ้าหนี้มีอยู่เป็นคุณแก่บุคคลผู้ใดในมูลอย่างหนึ่งอย่างใดดังจะกล่าวต่อไปนี้ บุคคลผู้นั้นย่อมมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้ คือ
(๑) ค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกัน
(๒) ค่าปลงศพ
(๓) ค่าภาษีอากร และเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ได้ทำให้แก่ลูกหนี้ซึ่งเป็นนายจ้าง
(๔) ค่าเครื่องอุปโภคบริโภคอันจำเป็นประจำวัน”
นิยาม ความหมาย
กฎหมายแพ่ง ( Civil Law ) หมายถึง กฎหมายเอกชนที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกันในฐานะที่เท่าเทียมกัน โดยกำหนดความสัมพันธ์ในเรื่องบุคคล หนี้สิน ทรัพย์สิน ครอบครัว และมรดก
กฎหมายพาณิชย์ ( Commercial Law ) หมายถึง กฎหมายเอกชน ที่เกี่ยวกับหลักปฏิบัติในทางการค้าที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในภาคธุรกิจ