เว็บไซต์คนท้องถิ่น

ความรู้เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ (VISION)

ความรู้เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ (VISION)
ความหมายวิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์  หมายถึง การมองภาพอนาคตของผู้นำและสมาชิกในองค์กร  และกำหนดจุดหมายปลายทางที่เชื่อมโยงกับภารกิจ ค่านิยม และความเชื่อเข้าด้วยกัน แล้วมุ่งสู่จุดหมายปลายทางที่ต้องการจุดหมายปลายทางที่ต้องการ จุดหมายปลายทางดังกล่าวต้องชัดเจน ท้าทาย มีพลังและมีความเป็นไปได้
           สมมุติว่า    V  คือ วิสัยทัศน์ (VISION)
                               I  คือ ภาพฝันในอนาคต (IMAGE) และ
                              A  คือ การกระทำ (ACTION)
           
 สามารถเขียนเป็นสมการได้ว่า    V = I + A

ความสำคัญของวิสัยทัศน์
                1. ช่วยกำหนดทิศทางที่จะดำเนินชีวิตหรือกิจกรรมองค์กร โดยมีจุดหมายปลายทางที่ชัดเจน
                2. ช่วยให้สมาชิกทุกคนรู้ว่า แต่ละคนมีความสำคัญต่อการมุ่งไปสู่จุดหมายปลายทาง และรู้ว่าจะทำอะไร (What) ทำไมต้องทำ (Why) ทำอย่างไร (How) และทำเมื่อใด (When)
                3. ช่วยกระตุ้นให้สมาชิกทุกคนมีความรู้สึกน่าสนใจ มีความผูกพัน มุ่งมั่นปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ ท้าท้าย เกิดความหมายในชีวิตการทำงาน  มีการทำงานและมีชีวิตอยู่อย่างมีเป้าหมายด้วยความภูมิใจ และทุ่มเทเพื่อคุณภาพของผลงานที่ปฏิบัติ
                4. ช่วยกำหนดมาตรฐานของชีวิต องค์กร และสังคมที่แสดงถึงการมีชีวิตที่มีคุณภาพ องค์กรที่มีคุณภาพ และสังคมที่เจริญก้าวหน้ามีความเป็นเลิศในทุกด้าน 
ระดับของวิสัยทัศน์

                                                                                                                                                 

ลักษณะของวิสัยทัศน์ที่ดี
                1. มีมุมมองแห่งอนาคต (Future perspective)   สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และค่านิยมขององค์กร รวมทั้งวัตถุประสงค์และภารกิจขององค์กรนั้น ๆ
                2. ริเริ่มโดยผู้นำและสมาชิกมีส่วนร่วมคิดและให้การสนับสนุน  (Share and Supported)    มีความน่าเชื่อถือ ทุกคนเต็มใจที่จะปฏิบัติตาม การมีส่วนร่วมของสมาชิกจะก่อให้เกิดความผูกพัน  (Commitment) ร่วมกัน และทุกคนพร้อมที่จะให้การสนับสนุน
                3. มีสาระครบถ้วนและชัดเจน (Comprehensive & Clear)   สะท้อนให้เห็นถึงจุดหมายปลายทางและทิศทางที่จะก้าวไปในอนาคตที่ทุกคนเข้าใจง่าย สามารถทำให้สำเร็จได้ตรงตามเป้าหมาย สาระต่างๆ จะช่วยกระตุ้น ท้าทายความสามารถและความรู้สึกนึกคิดของบุคลากรที่จะปฏิบัติงาน
                4. ให้ความฝันและพลังดลใจ (Positive & Inspiring)  ท้าท้าย ทะเยอทะยาน สามารถปลุกเร้า และสร้างความคาดหวังที่เป็นสิ่งพึงปรารถนาที่มองเห็นได้ นั่นคือ มีเส้นทางที่ท้าท้ายความสามารถ
                5. มีแผนปฏิบัติที่แสดงให้เห็นวิธีการที่มุ่งสู่จุดหมายชัดเจน   และเมื่อปฏิบัติตามแล้วจะให้ผลคุ้มค่า ในอนาคต ทั้งในด้านบุคคลและองค์กร   ทั้งนี้ จะต้องมีความสอดคล้องกับจุดหมายปลายทางที่กำหนดเป็น   วิสัยทัศน์  


ตรวจสอบวิสัยทัศน์
 
                                  สิ่งที่ฝัน                        
                                  เกี่ยวกับเรื่องอนาคต
                                  เป็นเครื่องบอกทิศทางไปสู่จุดหมายที่ต้องการอย่างมีพลัง
                                  มีเป้าหมายที่เป็นไปได้
                                  มีพลัง ท้าท้าย และเร่งให้เกิดพฤติกรรมนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สร้างสรรค์
                                  กระชับ ชัดเจน ทุกคนเข้าใจตรงกัน
                                  บอกทั้งเส้นทาง และเป้าหมาย
กระบวนการสร้างวิสัยทัศน์
1. ขั้นเตรียมการ เป็นขั้นตอนการสร้างความรู้ความเข้าใจ     เกี่ยวกับความหมายและให้เห็นความสำคัญและความจำเป็นในการสร้างวิสัยทัศน์ในองค์การรวมถึงการมีเจตคติที่ดีของสมาชิกที่มีต่อองค์กร
                2. ขั้นดำเนินการสร้างวิสัยทัศน์ มีขั้นตอนดังนี้
                    2.1  รวบรวมข้อมูลพื้นฐาน ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน เช่น วัตถุประสงค์ ภารกิจหน่วยงาน ความคาดหวังและความต้องการของสมาชิก ผู้รับบริการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
                     2.2  วิเคราะห์สถานภาพปัจจุบันของหน่วยงาน      เพื่อให้ผู้บริหารเข้าใจและตระหนักในสถานภาพปัจจุบัน และศักยภาพของหน่วยงาน
                    2.3  กลุ่มผู้บริหารเสนอมุมมองแห่งอนาคต   เป็นลักษณะของการสร้างฝันของผู้บริหารแต่ละคน (Create Individuals Dream) จะได้มุมมองที่หลากหลายและครอบคลุม
                    2.4  นำมุมมองของผู้บริหารแต่ละคนมารวมและเชื่อมโยงกัน (Share and Relate the Dreams) เพื่อให้มุมมองของแต่ละคนมาเชื่อมโยงกัน แล้วเรียงลำดับความสำคัญ
                    2.5  คัดเลือกและตัดสินใจอนาคตของหน่วยงานที่เป็นความฝันของทุกคน
                    2.6  ขัดเกลาสำนวนให้สื่อความหมายชัดเจน ปลุกเร้า ท้าท้าย สร้างพลังดลใจ มีสาระครอบคลุมองค์ประกอบของวิสัยทัศน์
                3. ขั้นนำวิสัยทัศน์ไปปฏิบัติ เมื่อกำหนดวิสัยทัศน์ตามขั้นตอนการสร้างวิสัยทัศน์แล้ว     จะได้วิสัยทัศน์ของหน่วยงาน และเมื่อคณะกรรมการบริหารแล้ว ควรสื่อสารให้สมาชิกทุกคนได้รับทราบและเข้าใจตรงกัน กำหนดแผนงานและโครงการให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และนำแผน/โครงการไปปฏิบัติ

               4. ขั้นประเมินวิสัยทัศน์ การประเมินวิสัยทัศน์ทำให้ทราบว่า     วิสัยทัศน์นั้น มีพลังและมีประสิทธิภาพเพียงใด โดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานตามแผน     และโครงการว่ามีความก้าวหน้าที่มุ่งไปสู่วิสัยทัศน์เพียงใด ควรปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์อย่างไร

 องค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้เกิดการนำภาพอนาคต(วิสัยทัศน์) ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมควรมีดังนี้ 
                1. นโยบายและแผนงานที่ชัดเจน    เป็นไปอย่างมีระบบและประสานประโยชน์ตามนโยบายและแผนอย่างจริงจัง
                2. การปรับเปลี่ยนผู้บริหารได้ง่าย เช่นเดียวกับภาคเอกชนในกรณีที่บริหารงานผิดพลาดหรือเป็นผู้ที่ขาดความก้าวหน้า
                3. ใช้เครื่องมือเครื่องใช้เทคนิคการปรับปรุงงาน   เช่นเดียวกับภาคเอกชนเพื่อทำงานให้รวดเร็วและลดขั้นตอนในการทำงาน
                4. การพัฒนาเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีทัศนคติที่ดีต่อหน่วยงาน       ตลอดจนการปรับทัศนคติข้าราชการให้เป็นผู้รับใช้ประชาชนมากกว่าเป็นผู้ปกครองหรือเป็นนาย และให้มีจิตสำนึกรับผิดชอบงานและสังคม
                5. การใช้เทคนิควิชาการบริหาร (Management Technique) มาช่วยในการบริหาร
                6. การใช้ความรู้เฉพาะสาขา     (Professional) เพื่อปฏิบัติงานให้ได้ผล
                7. การใช้เทคนิคอื่น ๆ ประกอบการบริหารให้เป็นผลสำเร็จ
                8. การให้ความรู้ ข่าวสาร ที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกแก่ผู้ที่อยู่ในสังคมเมืองในภูมิภาคควรมีนโยบายในการกระจายอำนาจ ทั้งการกระจายงานและกระจายเงิน พื่อพัฒนาระบบบริหารราชการ
                9. การปรับองค์กร โครงสร้างและกำลังคนของหน่วยงานให้กระทัดรัดและคล่องตัวเหมาะสมกับภาระหน้าที่ขององค์กรและสภาพปัจจุบัน  พึ่งเปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วมในการบริหารราชการ
               10. การปรับปรุงกฎหมายและระเบียบให้สามารถปฏิบัติได้คล่องตัวและรวดเร็ว
แหล่งข้อมูล http://www.moe.go.th
{DETAIL}