Local Learn Center แหล่งเรียนรู้ของคนท้องถิ่น โดยคนท้องถิ่น เพื่อคนท้องถิ่น

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

        กฎหมายแพ่ง คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล เช่น เรื่องสภาพบุคคล ทรัพย์ หนี้ นิติกรรม ครอบครัว และมรดก เป็นต้น การกระทำผิดทางแพ่ง ถือว่าเป็นการละเมิดต่อบุคคลที่เสียหายโดยเฉพาะไม่ทำให้ประชาชนทั่วไปเดือดร้อนอย่างการกระทำผิดอาญา
        กฎหมายพาณิชย์ คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเศรษฐกิจและการค้า โดยวางระเบียบเกี่ยวพันทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น การตั้งหุ้นส่วนบริษัท การประกอบการรับขน และเรื่องเกี่ยวกับตั๋วเงิน (เช่น เช็ค) กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจำนอง การจำนำ เป็นต้น

        ในปัจจุบันกฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ของประเทศไทย ได้บัญญัติรวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน เรียกชื่อว่า “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” แบ่งออกเป็น 6 บรรพ คือ บรรพ 1 ว่าด้วยหลักทั่วไป บรรพ 2 ว่าด้วยหนี้ บรรพ 3 ว่าด้วยเอกเทศสัญญา บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวและบรรพ 6 ว่าด้วยมรดก
        เหตุที่ประเทศไทยมีการจัดทำประมวลกฎหมายโดยการนำเอากฎหมายแพ่งมารวมกับกฎหมายพาณิชย์เป็นฉบับเดียวคล้ายกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยไม่ได้แยกเป็นประมวลกฎหมายแพ่งเล่มหนึ่งและประมวลกฎหมายพาณิชย์อีกเล่มหนึ่งดังเช่นประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เพราะการค้าพาณิชย์ในขณะที่ร่างกฎหมายยังไม่เจริญก้าวหน้า อีกทั้ง หลักทั่วไปบางอย่างในกฎหมายแพ่งก็สามารถนำไปใช้กับกฎหมายพาณิชย์ได้ ความจำเป็นที่จะต้องแยกกฎหมายพาณิชย์ออกจากกฎหมายแพ่งโดยจัดทำเป็นประมวลกฎหมายคนละเล่มกันจึงยังไม่มีความจำเป็นเท่าใดนักในขณะนั้น

พระราชกฤษฎีกา ให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

บรรพ ๑ และ ๒ ที่ได้ตรวจชำระใหม่[๑]

มีพระบรมราชโองการ ในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ประกาศจงทราบทั่วกันว่า

จำเดิมแต่ได้ออกประกาศประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๑ และ ๒ แต่วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พระพุทธศักราช ๒๔๖๖ เปนต้นมา ได้มีความเห็นแนะนำมากหลาย เพื่อยังประมวลกฎหมายนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

และเมื่อได้พิจารณาโดยถ่องแท้แล้ว เห็นเปนการสมควรให้ตรวจชำระบทบัญญัติในบรรพ ๑ และ ๒ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นใหม่

จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า บทบัญญัติเดิมในบรรพ ๑ และ ๒ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้แต่ ณ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พระพุทธศักราช ๒๔๖๖ นั้น ให้ยกเลิกเสียสิ้น และใช้บทบัญญัติที่ได้ตรวจชำระใหม่ต่อท้ายพระราชกฤษฎีกานี้แทนสืบไป

ประกาศมา ณ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พระพุทธศักราช ๒๔๖๘

พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ ๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. ๒๕๓๕

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงบทบัญญัติบรรพ ๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และบทบัญญัติลักษณะ ๒๓ สมาคม ของบรรพ ๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑  พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ ๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. ๒๕๓๕”

มาตรา ๒[๒]  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓  ให้แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ ๑ และบรรพ ๓ ดังต่อไปนี้

(๑) ให้ยกเลิกบทบัญญัติบรรพ ๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งได้ใช้บังคับโดยพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ ๑ และบรรพ ๒ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. ๒๔๖๘

(๒) ให้ยกเลิกลักษณะ ๒๓ สมาคม ของบรรพ ๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งได้ใช้บังคับโดยพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ ๓ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. ๒๔๗๑

(๓) ให้ใช้บทบัญญัติท้ายพระราชบัญญัตินี้เป็นบรรพ ๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่

มาตรา ๔  เอกสารที่มีการใช้ตราประทับแทนการลงลายมือชื่อตามมาตรา ๙ วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งได้กระทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้มีผลสมบูรณ์เสมือนกับลงลายมือชื่อต่อไป

มาตรา ๕  บทบัญญัติบรรพ ๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการให้กู้ยืมเงินที่ผู้เสมือนไร้ความสามารถได้กระทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

มาตรา ๖  ผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ที่ศาลได้ตั้งขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากยังมิได้จัดทำบัญชีทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่หรือจัดทำยังไม่แล้วเสร็จ ให้จัดทำให้แล้วเสร็จภายในสามเดือนนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และให้นำมาตรา ๕๒ และมาตรา ๕๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ

มาตรา ๗  ให้องค์กรหรือหน่วยงานที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นทบวงการเมืองตามความหมายของมาตรา ๗๒ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งถูกยกเลิกโดยมาตรา ๓ (๑) แห่งพระราชบัญญัตินี้ คงมีฐานะเป็นนิติบุคคลต่อไป

มาตรา ๘  ให้บรรดาสมาคมที่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นสมาคมตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้

สมาคมใดที่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มิได้ใช้ชื่อซึ่งมีคำว่า “สมาคม” ประกอบกับชื่อของสมาคมให้ยื่นคำขอแก้ไขข้อบังคับของสมาคมให้ถูกต้องตามมาตรา ๘๐ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

มาตรา ๙  สมาคมตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง สมาคมใด มีวิธีจัดการโดยไม่มีคณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินกิจการของสมาคมตามมาตรา ๗๙ (๖) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ถ้าสมาคมนั้นไม่ดำเนินการยื่นคำขอแก้ไขข้อบังคับของสมาคมและจัดให้มีคณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินกิจการของสมาคมภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้นายทะเบียนถอนชื่อสมาคมนั้นออกจากทะเบียน

มาตรา ๑๐  สมาคมตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง สมาคมใด มีสมาชิกไม่ถึงสิบคน หากสมาคมนั้นไม่ได้จัดให้มีจำนวนสมาชิกตามมาตรา ๘๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้นายทะเบียนถอนชื่อสมาคมนั้นออกจากทะเบียนตามมาตรา ๑๐๒ (๕) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๑๑  ให้บรรดามูลนิธิที่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นมูลนิธิตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ และให้ถือว่าตราสารก่อตั้งมูลนิธิดังกล่าวเป็นข้อบังคับของมูลนิธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้

มูลนิธิใดที่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มิได้ใช้ชื่อซึ่งมีคำว่า “มูลนิธิ” ประกอบกับชื่อของมูลนิธิ ให้ยื่นคำขอแก้ไขข้อบังคับของมูลนิธิให้ถูกต้องตามมาตรา ๑๑๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

มาตรา ๑๒  บรรดามูลนิธิที่มีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและมิได้เป็นนิติบุคคล ถ้าประสงค์จะจัดตั้งเป็นนิติบุคคลและใช้คำว่า “มูลนิธิ” ประกอบชื่อของตนต่อไป ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนตามมาตรา ๑๑๔ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

มาตรา ๑๓  มูลนิธิตามมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง มูลนิธิใด มีข้อบังคับที่กำหนดให้มีผู้จัดการของมูลนิธิไม่ถึงสามคนในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้ามูลนิธินั้นไม่ดำเนินการยื่นคำขอแก้ไขข้อบังคับของมูลนิธิเพื่อให้มีคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยบุคคลไม่น้อยกว่าสามคนเป็นผู้ดำเนินกิจการของมูลนิธิภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้นายทะเบียนดำเนินการตามมาตรา ๑๒๘ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้เพื่อสั่งการให้แก้ไขข้อบังคับของมูลนิธิให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป ถ้าปรากฏว่ามูลนิธิใดไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ก็ให้นายทะเบียนร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้เลิกมูลนิธิตามมาตรา ๑๓๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๑๔  บรรดาระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในบรรพ ๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และที่บัญญัติไว้ในลักษณะ ๒๓ สมาคม ของบรรพ ๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และระยะเวลาที่กำหนดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ แตกต่างกับระยะเวลาที่กำหนดไว้เดิม ให้นำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ

มาตรา ๑๕  ให้แก้เลขมาตราตามที่มีอยู่ในมาตราต่าง ๆ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นเลขมาตราตามบรรพ ๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้

(๑) “มาตรา ๙ วรรคสองและวรรคสาม” ในมาตรา ๑๖๖๖ ให้แก้เป็น “มาตรา ๙ วรรคสอง”
(๒) “มาตรา ๒๙” ในมาตรา ๑๔๖๔ และมาตรา ๑๕๑๙ ให้แก้เป็น “มาตรา ๒๘”
(๓) “มาตรา ๓๔” ในมาตรา ๑๖๑๐ และมาตรา ๑๖๑๑ ให้แก้เป็น “มาตรา ๓๒”
(๔) “มาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๓” ในมาตรา ๑๕๗๗ ให้แก้เป็น “มาตรา ๕๖ มาตรา ๕๗ มาตรา ๖๐”
(๕) “มาตรา ๖๕” ในมาตรา ๑๖๐๒ ให้แก้เป็น “มาตรา ๖๒”
(๖) “มาตรา ๖๖” ในมาตรา ๑๖๐๒ ให้แก้เป็น “มาตรา ๖๓”
(๗) “มาตรา ๘๑” ในมาตรา ๑๖๗๖ ให้แก้เป็น “มาตรา ๑๑๐”
(๘) “มาตรา ๘๕” ในมาตรา ๑๖๗๗ ให้แก้เป็น “มาตรา ๑๑๔”
(๙) “มาตรา ๑๓๐ วรรคสอง” ในมาตรา ๓๖๐ ให้แก้เป็น “มาตรา ๑๖๙ วรรคสอง”
(๑๐) “มาตรา ๑๘๙” ในมาตรา ๒๔๘ และมาตรา ๑๗๕๔ ให้แก้เป็น “มาตรา ๑๙๓/๒๗”

มาตรา ๑๖  บทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่นที่อ้างถึงบทบัญญัติในบรรพ ๑ หรือลักษณะ ๒๓ ในบรรพ ๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นอ้างถึงบทบัญญัติที่มีนัยเช่นเดียวกันในบรรพ ๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๑๗  บรรดากฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา ๙๗ และมาตรา ๑๒๙๗ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๑๘  ให้นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อานันท์  ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี


 หมายเหตุ มาตรา 193  เพิ่มเติมถึง มาตรา 193/1 - 193/35


 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (แก้ไขเพิ่มเติม ๗ เมษายน ๒๕๖๐)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (แก้ไขเพิ่มเติม ๗ เมษายน ๒๕๖๐)

10 มิ.ย. 2566 0 304

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (แก้ไขเพิ่มเติม ๗ เมษายน ๒๕๖๐) นิยาม ความหมาย กฎหมายแพ่ง ( Civil Law ) หมายถึง กฎหมายเอกชนที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกันในฐานะที่เท่าเทียมกัน โดยกำหนดความสัมพันธ์ในเรื่องบุคคล หนี้สิน ทรัพย์สิน ครอบครัว และมรดก

คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 21/2560 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 21/2560 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ

10 มิ.ย. 2566 0 448

คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 21/2560 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของค

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2558
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2558

10 มิ.ย. 2566 0 284

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2558 มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒๒) พ.ศ. ๒๕๕๘” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2558
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2558

10 มิ.ย. 2566 0 346

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2558 มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒๑) พ.ศ. ๒๕๕๘” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557

10 มิ.ย. 2566 0 290

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๕๕๗” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแ

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2551
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2551

10 มิ.ย. 2566 0 309

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2551 มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๕๑” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2551
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2551

10 มิ.ย. 2566 0 362

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2551 มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๑๘) พ.ศ. ๒๕๕๑” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิ

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2550
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2550

10 มิ.ย. 2566 0 320

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเก

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2550
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2550

10 มิ.ย. 2566 0 257

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2550 มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๑๖) พ.ศ. ๒๕๕๐” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2549
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2549

10 มิ.ย. 2566 0 297

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2549 มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๔๙” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2548
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2548

10 มิ.ย. 2566 0 872

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2548 มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๔๘” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2541

10 มิ.ย. 2566 0 354

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2541 มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๔๑” มาตรา ๒* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ.

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2541

10 มิ.ย. 2566 0 243

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2541 มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๔๑” มาตรา ๒* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในรา

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2535

10 มิ.ย. 2566 0 441

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2535 มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๓๕” มาตรา ๒* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นหกสิบวันนับแต่วันประก

พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535

10 มิ.ย. 2566 0 254

พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ ๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. ๒๕๓๕” มาตรา ๒* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บ

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533

10 มิ.ย. 2566 0 254

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๓๓” มาตรา ๒* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในรา

^