Local Learn Center แหล่งเรียนรู้ของคนท้องถิ่น โดยคนท้องถิ่น เพื่อคนท้องถิ่น

คู่มือการเลื่อนเงินเดือน ข้าราชการหรือพนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

คู่มือการเลื่อนเงินเดือน
ข้าราชการหรือพนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษา
สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1. หลักการและเหตุผล
ตามประกาศ ก.จ . ก.ท. และ ก.อบต. เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับเกี่ยวกับตำแหน่งข้าราชการหรือพนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2559 กำหนดให้ข้าราชการหรือพนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษาท้องถิ่นได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะ เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่น ตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ประกอบกับมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการเลื่อนเงินเดือนได้มีมติเห็นชอบให้กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลข้าราชการหรือพนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษา

1. การเลื่อนเงินเดือนตามมาตรฐานทั่วไปนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่ครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สำหรับการเลื่อนเงินเดือน ครั้งที่ 1 วันที่ 1 เมษายน 2562 เป็นต้นไป โดยให้นำผลการปฏิบัติงาน ของข้าราชการหรือพนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษาส่วนท้องถิ่น ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2561 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2562 ที่ได้ดำเนินการตามมาตรฐานทั่วไปฉบับเดิมมาใช้ประกอบเป็นคุณสมบัติ การเลื่อนเงินเดือนในครั้งนี้
2. บัญชีเงินเดือนให้เป็นไปตามบัญชีเงินเดือนของข้าราชการหรือพนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแนบท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 ดังนี้
(ภาพ-ตาราง 1)

3. ให้ใช้ฐานในการคำนวณและช่วงเงินเดือนในแต่ละอันดับตามมติ ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต. ในการประชุมครั้งที่ 4/2562 เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2562 ซึ่งมีมติเห็นชอบกำหนดช่วงเงินเดือนและฐานในการคำนวณ ดังน
(ภาพ-ตาราง 2)

4. เพื่อประโยชน์ในการจัดสรรวงเงินงบประมาณอย่างเป็นธรรม ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบริหารวงเงินในการเลื่อนเงินเดือนในภาพรวมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4.1 ให้เลื่อนในอัตราร้อยละที่แตกต่างกันตามคะแนนการประเมินผลการปฏิบัติงาน ภายในวงเงินรวมร้อยละ 3 ของอัตราเงินเดือนรวมของข้าราชการหรือพนักงานครูฯ ทั้งหมดที่มีตัวอยู่จริง ณ วันที่ 1 มีนาคม หรือ 1 กันยายน (ให้นับรวมอัตราเงินเดือนของผู้ที่ไปช่วยราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือส่วนราชการอื่นด้วย)
4.2 ให้เลื่อนเงินเดือนข้าราชการหรือพนักงานครูฯ แต่ละคนในแต่ละครั้งไม่เกินร้อยละ 6 ของฐานในการคำนวณ จะใช้วิธีการหารเฉลี่ยให้แต่ละคนได้รับการเลื่อนเงินเดือนในอัตราที่เท่ากันไม่ได้ การคำนวณจำนวนเงินสำหรับการเลื่อนเงินเดือนถ้ามีเศษไม่ถึงสิบบาท ให้ปัดเป็นสิบบาท
4.3 ผู้ที่ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของอันดับเงินเดือน ให้คำนวณร้อยละที่ได้เลื่อนจากฐานในการคำนวณของอันดับเงินเดือนของตำแหน่งและวิทยฐานะที่ดำรงอยู่
4.4 การแบ่งกลุ่มเพื่อเลื่อนเงินเดือน ให้แบ่งข้าราชการหรือพนักงานครูฯ ออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ข้าราชการหรือพนักงานครูฯ ที่รับเงินเดือนอันดับครูผู้ช่วย, คศ.1, คศ.2 และ คศ.3
กลุ่มที่ 2 ข้าราชการหรือพนักงานครูฯ ที่รับเงินเดือนอันดับ คศ.4 และ คศ.5
ทั้งนี้ ในแต่ละกลุ่มให้บริหารวงเงินเพื่อเลื่อนเงินเดือน โดยแยกวงเงินเพื่อใช้เลื่อนเงินเดือนออกเป็น 2 กลุ่ม และให้เลื่อนเงินเดือนภายในวงเงินของแต่ละกลุ่มก่อน หากวงเงินเดือนของกลุ่มใด มีเหลือจึงสามารถเกลี่ยไปให้กลุ่มอื่นได้ ดังนี้

กลุ่มที่ 1 ครูผู้ดูแลเด็ก หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูผู้ช่วย และครู
กลุ่มที่ 2 ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์
4.5 ให้ยึดหลักคุณธรรม ความเที่ยงธรรม เปิดเผย โปร่งใส และพิจารณาผลการปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนเป็นหลัก ประกอบกับความประพฤติในการรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ข้อมูลการลา พฤติกรรมการมาทำงาน ผลการประเมินผลการปฏิบัติงาน และวงเงินร้อยละ 3 ที่คำนวณได้ มาเป็นข้อมูลสำคัญประกอบการพิจารณากำหนดอัตราร้อยละในการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการ หรือพนักงานครูฯ แต่ละคน
4.6 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกาศอัตราร้อยละของฐานในการคำนวณที่ได้ใช้ เป็นเกณฑ์ในการคำนวณเพื่อเลื่อนเงินเดือน โดยต้องประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไปอย่างช้าที่สุดพร้อมกับ การมีคำสั่งเลื่อนเงินเดือน
5. กรณีผู้ที่ไปช่วยราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น หรือส่วนราชการอื่น ให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นหรือส่วนราชการอื่นที่ข้าราชการหรือพนักงานครูฯ มาช่วยราชการแจ้งผลการปฏิบัติงานในช่วงที่ช่วยราชการไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นสังกัด เพื่อประกอบการพิจารณาและสั่งเลื่อนเงินเดือน
6. การเลื่อนเงินเดือนแต่ละรอบในแต่ละครั้งให้เลื่อนไม่เกินขั้นสูงของอันดับเงินเดือน สำหรับผู้ที่ได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงของอันดับในรอบที่ผ่านมา การออกคำสั่งเลื่อนเงินเดือนรอบใหม่ให้ออกคำสั่งให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของอันดับเงินเดือนตามที่ ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต. กำหนดก่อน แล้วจึงออกคำสั่งเลื่อนเงินเดือน
7. การเลื่อนเงินเดือนผู้ที่ได้รับการเลื่อนหรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ (ย้าย) หรือการรับโอน ในระหว่างครึ่งปีของการเลื่อนเงินเดือน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นสังกัดปัจจุบันเป็นผู้ออกคำสั่งเลื่อน หรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ (ย้าย) หรือรับโอนก่อน แล้วจึงดำเนินการสั่งเลื่อนเงินเดือนโดยนำคะแนน การประเมินผลการปฏิบัติงานจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือส่วนราชการเดิมมาประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนด้วย
8. การแจ้งผลการเลื่อนเงินเดือน ให้นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้มีการแจ้งผล การเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการหรือพนักงานครูฯ แต่ละคนทราบเป็นข้อมูลเฉพาะเป็นรายบุคคล
9. รายงานผลการเลื่อนเงินเดือน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรายงานผลการดำเนินการให้ ก.จ.จ. ก.ท.จ. หรือ ก.อบต.จังหวัด เพื่อทราบ ภายใน 5 วันทำการนับแต่ออกคำสั่งเลื่อนเงินเดือน
2. กระบวนการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน
ให้นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน ทำหน้าที่พิจารณาและรายงานผลการพิจารณาเสนอความเห็นต่อนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อประกอบการพิจารณา สั่งเลื่อนเงินเดือน จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน ประกอบด้วย
1) รองนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหัวหน้าส่วนราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
2) หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้บริหารสถานศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน ไม่น้อยกว่า 2 คน เป็นกรรมการ
3) ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบงานบริหารงานบุคคลข้าราชการหรือพนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษาส่วนท้องถิ่น เป็นเลขานุการ
3. คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการเลื่อนเงินเดือน
ผู้ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนในแต่ละครั้งต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มที่>> 

การนับจำนวนวันลาไม่เกินยี่สิบสามวันสำหรับวันลากิจส่วนตัวและวันลาป่วย ที่ไม่ใช่วันลาป่วย ตาม (9) (ง) ให้นับเฉพาะวันทำการ
4. การเลื่อนเงินเดือนผู้ที่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการเลื่อนเงินเดือน
ผู้ใดไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะเลื่อนเงินเดือนได้ตามข้อ 11 เนื่องจากขาดคุณสมบัติเกี่ยวกับระยะเวลาปฏิบัติราชการ การลาหรือการมาทำงานสาย ตามที่กำหนดในมาตรฐานทั่วไปนี้ แต่นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาเห็นสมควรเลื่อนเงินเดือนให้โดยมีเหตุผลเป็นกรณีพิเศษ ให้นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสนอ ก.จ.จ ก.ท.จ หรือ ก.อบต.จังหวัด เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบสั่งเลื่อนเงินเดือนเป็นการเฉพาะรายได้ในอัตราไม่เกินร้อยละสองของฐานในการคำนวณเงินเดือนของผู้นั้น
5.ขั้นตอนการเลื่อนเงินเดือน
1. คำนวณวงเงินร้อยละ 3 ที่สามารถจะใช้เลื่อนเงินเดือน โดยตรวจสอบอัตราเงินเดือนรวม ของข้าราชการหรือพนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษาส่วนท้องถิ่นทุกราย ณ วันที่ 1 มีนาคม (สำหรับ การเลื่อนเงินเดือนครั้งที่ 1) หรือ วันที่ 1 กันยายน (สำหรับการเลื่อนเงินเดือนครั้งที่ 2) เช่น มีข้าราชการ หรือพนักงานครูฯ ในสังกัด จำนวน 12 คน
ตัวอย่าง
(ภาพ-ตาราง 3)

(ภาพ-ตาราง 4)



(ภาพ-ตาราง 5)

3. กำหนดอัตราร้อยละของฐานในการคำนวณที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณ
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณากำหนด “ร้อยละ” ที่จะใช้ในการเลื่อนเงินเดือนรายบุคคล ตามช่วงคะแนนการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยต้องคำนึงถึงรายละเอียด ดังนี้
(1) ระดับผลการประเมิน
(2) ฐานในการคำนวณและช่วงเงินเดือนสำหรับเลื่อนเงินเดือนในแต่ละอันดับ
(3) วงเงินร้อยละ 3 ที่สามารถใช้ในการเลื่อนเงินเดือน (ตัวอย่างมีวงเงิน 13,293.00 บาท)
ตัวอย่าง ตาราง

4. พิจารณาคำนวณอัตราร้อยละที่จะเลื่อนเงินเดือนรายบุคคล ให้คำนวณอัตราร้อยละที่จะเลื่อนเงินเดือนรายบุคคลตามผลคะแนนประเมิน โดยนำข้อมูลอัตราเงินเดือน ฐานในการคำนวณและผลคะแนนประเมินรายบุคคลมาวิเคราะห์ ตามที่ได้กำหนดอัตราร้อยละของฐานในการคำนวณที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณตาม ข้อ 3
เพื่อให้ผู้รับผิดชอบการเลื่อนเงินเดือนสามารถปฏิบัติงานได้รวดเร็วและถูกต้องตามหลักการที่กำหนดในมาตรฐานทั่วไปนี้ จึงได้จัดทำสูตรการคำนวณเป็นไฟล์ Microsoft excels ชื่อตัวอย่างไฟล์คำนวณเลื่อนเงินเดือนครู เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม โดยให้ กรอกรายละเอียดรายบุคคลตามตารางให้ครบถ้วน เมื่อข้อมูลครบถ้วนแล้วสูตรจะแสดงผล ฐานในการคำนวณ ร้อยละ เม็ดเงินที่ใช้เลื่อน จำนวนเงินที่ปัดเป็นฐานสิบและผลรวมที่แสดงตัวเลขให้ตรวจสอบได้ว่ามีการเลื่อนเงินเดือนเกินวงเงินร้อยละ 3 หรือไม่
(ภาพ-ตาราง 6)

ขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
1. กำหนดอัตราร้อยละของฐานในการคำนวณที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณตามตาราง ที่ 2 ของข้อ 3 ใน ชีทที่ 3 ชื่อ “เกณฑ์การให้เปอร์เซ็น” ทั้งนี้ การกำหนดช่วงคะแนน และอัตราร้อยละที่จะได้ขึ้นอยู่กับ วงเงิน จำนวนคน และผลคะแนน กรณีตัวอย่างกำหนดให้ผู้มีผลคะแนนประเมิน 96 – 100 ได้เลื่อนเงินเดือนร้อยละ 6
2. กรอกข้อมูลรายละเอียดรายบุคคลในชีทที่ 1 ของไฟล์ ชื่อ “ผลการเลื่อนเงินเดือน รอบ 1” ให้กรอกข้อมูลลำดับ ตำแหน่ง อันดับเงินเดือน และอัตราเงินเดือนปัจจุบัน ตามตารางช่องหมายเลข 1 - 4 ให้ครบถ้วน (สำหรับตารางช่องหมายเลข 3 ให้พิมพ์ “คศ จุด” แล้วตามด้วยตัวเลข ดังนี้ “คศ.2”) เมื่อกรอก

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ยังไม่มีความคิดเห็น โพสต์เลยตอนนี้
^