วันลาของข้าราชการ พนักงานเทศบาล พนักงานส่วนตำบล พนักงานจ้างตามภารกิจ พนักงานจ้างทั่วไป ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ลาป่วย ลากิจส่วนตัว ลาคลอดบุตร ลาพักผ่อน
ของพนักงานส่วนท้องถิ่น
การลา(พนักงานส่วนท้องถิ่น)
1. กฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
1.1 ประกาศ ก.จังหวัด เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลฯ หมวดว่าด้วยการลา
1.2 ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
1.3 พ.ร.ฎ.การจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญและเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5)
1.4 มติ ครม. ที่เกี่ยวข้อง
ผู้มีอำนาจอนุญาต
นายก อปท.
- ลาป่วย
- ลาพักผ่อน
- ลาคลอดบุตร
- ลากิจส่วนตัว
- ลาติดตามคู่สมรส (ปมท.)
- ลาอุปสมบท
- ลาเข้ารับการตรวจเลือก
- ลาศึกษา/ฝึกอบรม (ในประเทศและต่างประเทศ)
- ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ(รมต.มท)
ปลัด อปท.
- ลาป่วย (60วัน) -ลากิจส่วนตัว (30วัน)
- ลาคลอดบุตร -ลาพักผ่อน
ผอ. กองหรือหัวหน้าส่วนราชการ
- ลาป่วย (30วัน)
- ลากิจส่วนตัว (15วัน)
- ลาคลอดบุตร
- ลาพักผ่อน
2. ประเภทการลา มี 11 ประเภท ได้แก่
1 ลาป่วย (60)
2 ลาคลอดบุตร (90)
3 ลากิจส่วนตัว (30)
4 ลาพักผ่อน (10)
5 ลาอุปสมบท หรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ (120)
6 ลาเข้ารับการตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพล
7 ลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงานหรือปฏิบัติการวิจัย
8 ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
9 ลาติดตามคู่สมรส
10 ลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร (ไม่เกิน 15 วัน)
11 ลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ (ไม่เกิน 12 เดือน)
- การนับวันลา ให้นับตามปีงบประมาณ
- ให้นับวันหยุดราชการที่อยู่ในระหว่างวันลาประเภทเดียวกันรวมเป็นวันลาด้วย เฉพาะการนับวันลาเพื่อประโยชน์ในการ
1) เสนอและจัดส่งใบลา
2) อนุญาตให้ลา
3) คำนวณวันลา ได้แก่ วันลาป่วยตามกฎหมายสงเคราะห์ข้าราชการฯ วันลาคลอดบุตร ,วันลาอุปสมบท/พิธีฮัจย์ ,วันลาไปศึกษา/อบรม , วันลาเข้ารับการตรวจเลือก/เตรียมพล ,วันลาไปปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศ ,วันลาติตามคู่สมรส และลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
**********
สำหรับวันลาป่วยซึ่งมิใช่วันลาป่วยตาม 3) ,วันลากิจส่วนตัว, วันลาพักผ่อนและวันลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตรให้นับเฉพาะวันทาการ
ลาป่วย
1. เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตก่อนหรือในวันที่ลา เว้นแต่ ในกรณีจำเป็น จะเสนอใบลาในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการก็ได้
2. การลาป่วยตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป ต้องมีใบรับรองแพทย์
3. การลาป่วยไม่ถึง 30 วัน ผู้บังคับบัญชาจะสั่งให้มีใบรับรองแพทย์ประกอบก็ได้
4. ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ 60-120 วัน
ลาคลอดบุตร
1. เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตก่อนหรือในวันที่ลา เว้นแต่ ไม่สามารถลงชื่อในใบลาได้จะให้ผู้อื่นลาแทนก็ได้ แต่เมื่อลงชื่อได้แล้วให้จัดส่งใบลาโดยเร็ว
2. ได้รับเงินเดือนครั้งหนึ่งได้ 90 วัน
3. ไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์
ลากิจส่วนตัว
1. เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตและเมื่อได้รับอนุญาตจึงจะหยุดราชการได้ เว้นแต่ มีเหตุจำเป็นไม่สามารถรอได้ ให้เสนอใบลาพร้อมเหตุผลความจำเป็นแล้วหยุดราชการไปก่อนได้
2. ได้รับเงินเดือนระหว่างลาไม่เกิน 45 วัน เว้นแต่ ในปีแรกที่เข้ารับราชการได้รับเงินเดือนระหว่างลาไม่เกิน 15 วัน
3. ลากิจเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน 150 วัน โดยไม่ได้รับเงินเดือน
ลาพักผ่อน
1. เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตและเมื่อได้รับอนุญาต จึงจะหยุดราชการได้
2. มีสิทธิลาพักผ่อนได้ 10 วัน เว้นแต่ บรรจุเข้ารับราชการยังไม่ถึง 6 เดือน
2.1 สะสมวันลาได้ไม่เกิน 20 วัน
2.2 รับราชการไม่น้อยกว่า 10 ปี สะสมวันลาได้ไม่เกิน 30 วัน
3. พนักงานที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษา และมีวันหยุดภาคการเรียนหากได้หยุดราชการตามวันหยุดภาคการเรียน เกินกว่าวันลาพักผ่อน จะไม่มีสิทธิลาพักผ่อน
ลาติดตามคู่สมรส
1. ให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงปลัดกระทรวงเพื่อพิจารณาอนุญาต
2. ลาได้ไม่เกิน 2 ปี กรณีจำเป็นอาจอนุญาตให้ลาต่อได้อีก 2 ปี เมื่อรวมไม่เกิน 4 ปี ถ้าเกิน 4 ปีให้ลาออก
3. ไม่ได้รับเงินเดือนระหว่างลา
พนักงานจ้าง
การลา (พนักงานจ้าง)
1. กฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง ประกาศ ก.จ.,ก.ท.และ ก.อบต. เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับพนักงานจ้าง พ.ศ.2547 แก้ไขเพิ่ม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2557
2. ประเภทการลามี 6 ประเภท ได้แก่
- ลาป่วย
- ลากิจส่วนตัว
- ลาพักผ่อน
- ลาคลอดบุตร
- ลาอุปสมบท หรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์
- ลาเข้ารับการตรวจเลือก/เข้ารับการเตรียมพล/เข้ารับ การฝึกวิชาการ ทหาร/เข้ารับการทดลอง เตรียมความพรั่งพร้อม
ลาป่วย
1. ลาป่วยกรณีทั่วไป
1.1 พนักงานจ้างตามภารกิจ ไม่เกิน 60 วัน
1.2 พนักงานจ้างทั่วไป
- ระยะเวลาจ้าง 1 ปีไม่เกิน 15 วัน
- ระยะเวลาจ้าง 9 เดือน < 1 เดือน ไม่เกิน 8 วัน
- ระยะเวลาจ้าง 6 เดือน < 9 เดือน ไม่เกิน 6 วัน
- < 6 เดือน ไม่เกิน 4 วัน
2. ลาป่วยกรณีประสบอันตรายเพราะเหตุปฏิบัติงานในหน้าที่
2.1 พนักงานจ้างภารกิจ
(1) ถ้าลาป่วยครบ 60 วันแล้ว ตามข้อ 1.1 แล้วยังไม่หาย
- แพทย์ลงความเห็นว่ารักษาหายและรับราชกสนต่อได้ ให้นายก อปท. อนุญาตให้ลาตามที่เห็นสมควร โดยได้รับค่าตอบแทนอัตราปกติ
- ถ้าแพทย์ลงความเห็นว่าไม่มีทางรักษาหาย ก็ให้พิจารณาเลิกจ้าง
(2) ตามข้อ (1) และตกเป็นผู้ทุพพลภาพ/พิการ
- หาก นายก อปท. พิจารณาแล้วเห็นว่าพนักงานจ้างยังอาจปฏิบัติหน้าที่ อื่นที่เหมาะสมได้ และพนักงานจ้างผู้นั้นสมัครใจ
- ให้สั่งพนักงานจ้างผู้นั้นไปปฏิบัติหน้าที่ในต าแหน่งอื่น โดยไม่ต้องเลิกจ้างโดยให้อยู่ในดุลยพินิจของนายก อปท.
2.2 พนักงานจ้างทั่วไป ถ้าลาป่วยครบตาม ข้อ 1.2 แล้วไม่หาย
- แพทย์ลงความเห็นว่ารักษาหายและรับราชการต่อได้ให้นายก อปท. อนุญาตให้ลาตามที่เห็นสมควร โดยได้รับค่าตอบแทนอัตราปกติแต่ไม่ เกิน 60 วัน
- ถ้าแพทย์ลงความเห็นว่าไม่มีทางรักษาหาย ก็ให้พิจารณาเลิกจ้าง
หมายเหตุการลาป่วยเกิน 3 วัน ต้องมีใบรับรองแพทย์
ลากิจส่วนตัว
- พนักงานจ้างตามภารกิจ มีสิทธิลาไม่เกิน 45 วัน
- ยกเว้น ปีแรกที่ได้รับการจ้าง มีสิทธิลาไม่เกิน 15 วัน
หมายเหตุ พนักงานจ้างทั่วไป ไม่มีสิทธิลากิจ
ลาพักผ่อน
- พนักงานจ้างตามภารกิจ และพนักงานจ้างทั่วไปมีสิทธิพักผ่อน ไม่เกิน 10 วันทำการสำหรับในปีแรก ได้รับการจ้างไม่เกิน 6 เดือน ไม่มีสิทธิลา เว้นแต่ผู้ที่เคยได้รับการจ้างเป็นพนักงานจ้างมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 6 เดือนและพ้นจากการเป็นพนักงานจ้างไปแล้วต่อมาเป็นพนักงาน ที่อปท. เดิมอีก
ลาคลอดบุตร
1. พนักงานจางตามภารกิจ และพนักงานจ้างทั่วไป
- ลาได้ 90 วัน (นับวันหยุดรวมด้วย)
- ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลา 45 วัน
- มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร จากกองทุน ประกันสังคม ทั้งตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม
หมายเหตุ แก้ไขตามประกาศ ก.กลาง เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับพนักงานจ้าง (ฉบับที่ 3)
ลาอุปสมบท/ประกอบพิธีฮัจย์
พนักงานจ้างตามภารกิจ
- ยังไม่เคยอปุสมบท/ประกอบพิธีฮัจย์ลาโดยได้รับค าตอบแทน อัตราปกติ ไม่เกิน 120 วัน
- ในปีแรกที่จ้างเข้าปฏิบัติลาโดยไม่ได้รับค าตอบแทน
- นายก อปท. เป็นผู้อนุญาตให้ลา
หมายเหตุ พนักงานจ้างทั่วไปไม่มีสิทธิลา
ลาเข้ารับการตรวจเลือก/เข้ารับการเตรียมพล/เข้ารับการฝึก วิชาการทหาร/เข้ารับการทดลองเตรียมความพรั่งพร้อม
1. ลาเข้ารับการตรวจเลือก พนักงานจ้างทุกประเภทมีสิทธิลา โดยได้รับค่าตอบแทนอัตราปกติ
2. เข้ารับการเตรียมพล/เข้ารับการฝึกวิชาการทหาร/เข้ารับ การทดลอง เตรียมความพรั่งพร้อม
(พนักงานจ้างตามภารกิจ มีสิทธิลาโดยได้รับค่าตอบแทนอัตราปกติ)
แบบฟอร์มใบลา e-Document
-แบบใบลาป่วย ลากิจส่วนตัว ลาคลอดบุตร
-แบบฟอร์มใบลาไปช่วยเหลือภริยาคลอดบุตร
-แบบฟอร์มใบลาพักผ่อน