แนวทางการจัดทําแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570)
หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0810.3/ว 7467 ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2563
เรื่อง แนวทางการจัดทําแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570)
เรียน ผู้ว่าราชการจังหวัด ทุกจังหวัด
สิ่งที่ส่งมาด้วย
1. ปฏิทินการจัดทําและประสานแผนพัฒนาท้องถิ่น
2. กรอบการประสานโครงการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3. เค้าโครงยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด
4. เค้าโครงแผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566 - 2570)
5. แนวทางการจัดบริการสาธารณะและรูปแบบการจัดประชาคมท้องถิ่น
ตามพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537 มาตรา 69/1 พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 50 พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 45/1 และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทําแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 18 กําหนดให้แผนพัฒนาท้องถิ่น กรณีเทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง ให้จัดทํา หรือทบทวนให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคมก่อนปีงบประมาณถัดไป กรณีองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้จัดทํา หรือทบทวนให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายนก่อนปีงบประมาณถัดไป โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มี การประกาศใช้แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561-2565) แล้ว นั้น
กระทรวงมหาดไทยพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การจัดทําแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570) สามารถบูรณาการแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม และงบประมาณในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดให้แก่ประชาชน จึงอาศัยอํานาจตามข้อ 5 แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทําแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 และที่แก้ไข เพิ่มเติม ซักซ้อมแนวทางการจัดทําแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570) โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือเป็นแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
1. ขั้นตอนการจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566 - 2570 ให้เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนจังหวัด ดําเนินการจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น [รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1]
2. แนวทางการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566 - 2570
2.1 ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดและอําเภอตรวจสอบองค์ประกอบ ของคณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับจังหวัดและระดับอําเภอตามลําดับให้เป็นปัจจุบัน
2.2 ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดดําเนินการจัดทํายุทธศาสตร์การพัฒนา ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดให้แล้วเสร็จ แล้วแจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดทราบ โดยเค้าโครงยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด ให้ดําเนินการตามรูปแบบที่กําหนด [รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 2]
3. แนวทางการจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566 - 2570
3.1 การทบทวนแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561 - 2565) ให้เทศบาล องค์การบริหาร ส่วนตําบล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนจังหวัด ถือปฏิบัติตามข้อ 17 แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทําแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
3.2 การจัดทําแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถนําข้อมูล จากแผนพัฒนาท้องถิ่นฉบับปัจจุบัน มาทบทวนและปรับใช้ในการจัดทําหรือทบทวนแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 - 2570) โดยพิจารณาให้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด ยุทธศาสตร์จังหวัด ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนพัฒนาภาค แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals; SDGs) โดยในการจัดทําประชาคมท้องถิ่น ให้ดําเนินการตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี [รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 3]
3.3 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่น ตามเค้าโครงแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 - 2570) [รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๔]
4. การนําแผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566 - 2570 ไปสู่การปฏิบัติ
4.1 เพื่อให้แผนพัฒนาท้องถิ่นนําไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้แผนพัฒนาท้องถิ่น เป็นกรอบในการจัดทํางบประมาณรายจ่ายประจําปี งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมและงบประมาณจากเงินสะสม ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เมื่อสภาท้องถิ่นได้ให้ความเห็นชอบในวิธีการงบประมาณและเป็นไปตามแผนพัฒนาท้องถิ่นแล้ว หากปรากฏในภายหลังว่าเกณฑ์ราคากลาง หรือบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ คุณลักษณะ มาตรฐาน ราคาปรับเปลี่ยนไป ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดําเนินการตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2363 ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561 โดยไม่ต้องแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงแผนพัฒนาท้องถิ่น
4.2 เมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกาศใช้แผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 - 2570) แล้ว หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความประสงค์ที่จะดําเนินการทบทวนแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 - 2570) ให้เป็นปัจจุบันก็สามารถดําเนินการได้ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทําแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5. การกํากับดูแล
5.1 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอําเภอกํากับดูแลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการทบทวนแผนพัฒนาท้องถิ่นและการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นเป็นกรอบในการจัดทำ งบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม งบประมาณจากเงินสะสม การตั้งงบประมาณ อุดหนุนให้แก่หน่วยงานอื่น โดยถือเป็นสาระสำคัญที่ต้องพิจารณารายละเอียดของโครงการพัฒนา ในข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติและงบประมาณรายจ่ายดังกล่าวต้องสอดคล้องกับโครงการพัฒนาในแผนพัฒนาท้องถิ่นก่อนให้ความเห็นชอบ
5.2 การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดชายแดน ภาคใต้ ประกอบด้วย ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ ๔ อําเภอของจังหวัดสงขลา (อําเภอจะนะ อําเภอเทพา อําเภอนาทวี และอําเภอสะบ้าย้อย) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณากํากับดูแลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทําแผนพัฒนาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ แต่ทั้งนี้ต้องคํานึงถึงระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทําแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นสําคัญ รายละเอียดสิ่งที่ส่งมาด้วย