มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
- ความสำคัญของเด็กปฐมวัย
- อุดมการณ์และหลักการในการจัดการศึกษาเด็กปฐมวัยของชาติ
- เหตุผลที่ต้องมีมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
- วัตถุประสงค์
- กลุ่มเป้าหมาย
- สาระของมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
ภาคผนวก ๑ คู่มือมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
- มาตรฐานด้านที่ ๑ การบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
- มาตรฐานด้านที่ ๒ ครู/ผู้ดูแลเด็ก และให้การดูแล จัดประสบการณ์การเรียนรู้และการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
- มาตรฐานด้านที่ ๓ คุณภาพของเด็กปฐมวัย
ภาคผนวก ๒ แบบบันทึกการประเมินมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
ภาคผนวก ๓ คำสั่งคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง
ความสำคัญของเด็กปฐมวัย
ปฐมวัยเป็นวัยเริ่มต้นของชีวิตและพัฒนาการในทุกด้าน เป็นช่วงวัยที่พัฒนาการทางด้านต่างๆ เป็นไปอย่างรวดเร็วที่สุดและเป็นฐานรากที่สาคัญสาหรับพัฒนาการในช่วงวัยต่อๆ ไป เด็กในวัยนี้จึงเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีความสาคัญอย่างยิ่งของประเทศ เด็กปฐมวัยที่ได้รับ
การดูแลอย่างเหมาะสมตามช่วงวัยจะสามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพและจะเป็นกาลังสาคัญของประเทศชาติต่อไปในอนาคต ดังคำกล่าวของ ศ.ดร.เจมส์ เจ เอคแมน นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่ว่า “การลงทุนพัฒนาเด็กปฐมวัย
เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าให้ผลตอบแทนแก่สังคมที่ดีที่สุดในระยะยาว”
ดังนั้น การพัฒนาเด็กปฐมวัยจึงเป็นรากฐานที่มีผลต่อคุณภาพและประสิทธิภาพของคนตลอดชีวิตและเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด กล่าวคือเด็ก เยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีมีความสามารถเรียนรู้ ทางานได้เก่งและเป็นพลเมืองดีที่จะนำสู่ความสำเร็จในสังคมที่ท้าทายใน
ศตวรรษที่ ๒๑ ต้องได้รับโอกาสการพัฒนาอย่างรอบด้านในช่วงปฐมวัย แต่คุณ ภาพของเด็กปฐมวัยยังเป็นจุดอ่อนที่เข้าขั้นวิกฤต ของประเทศไทยที่จำเป็นต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน รัฐ และทุกภาคส่วน พ่อแม่ผู้ปกครอง ครอบครัว ชุมชน สังคม บุคลากรทางการแพทย์และ
สาธารณสุข ครู/ผู้ดูแลเด็ก โรงเรียน องค์กรท้องถิ่นทุกระดับ บุคลากรพัฒนาสังคมทั้งภาครัฐเอกชน ภาคศาสนาและภาคธุรกิจ จึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในความสำคัญของช่วงปฐมวัย ตระหนักในพันธกิจและลงมือช่วยกันทำให้เด็กปฐมวัยมีโอกาสพัฒนาอย่างเต็ม
ศักยภาพในภาวะแวดล้อมที่ปลอดภัย
“เด็กปฐมวัย” ตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ให้ความหมายของเด็กปฐมวัยว่า หมายถึง เด็กซึ่งมีอายุยังไม่ครบหกปีบริบูรณ์ และให้หมายความรวมถึงทารกในครรภ์มารดาด้วย
อุดมการณ์และหลักการในการจัดการศึกษาเด็กปฐมวัยของชาติ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้ให้ความสาคัญกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยไว้หลายมาตรา คือ
มาตรา ๕๔ วรรคสอง กำหนดว่า “...รัฐต้องดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษา เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย โดยส่งเสริม
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย”
มาตรา ๒๕๘ ให้ดาเนินการปฏิรูปประเทศให้เกิดผล จ. ด้านการศึกษา (๑) ให้สามารถเริ่มดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษา ตามมาตรา ๕๔ วรรคสอง เพื่อให้เด็กเล็ก
ได้รับการพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัยโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๕) และฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๓) มาตรา ๑๘ (๑) กำหนดให้การจัดการศึกษาปฐมวัยจัดในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ได้แก่ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กก่อน
เกณฑ์ของสถาบันศาสนา ศูนย์บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของเด็กพิการและเด็กซึ่งมีความต้องการพิเศษหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมาตรา ๑๓ (๑) ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ในการสนับสนุนจากรัฐ ให้มีความรู้
ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดู และการให้การศึกษาแก่บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล ฯลฯ
- ความสำคัญของเด็กปฐมวัย
- อุดมการณ์และหลักการในการจัดการศึกษาเด็กปฐมวัยของชาติ
- เหตุผลที่ต้องมีมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
- วัตถุประสงค์
- กลุ่มเป้าหมาย
- สาระของมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
ภาคผนวก ๑ คู่มือมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
- มาตรฐานด้านที่ ๑ การบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
- มาตรฐานด้านที่ ๒ ครู/ผู้ดูแลเด็ก และให้การดูแล จัดประสบการณ์การเรียนรู้และการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
- มาตรฐานด้านที่ ๓ คุณภาพของเด็กปฐมวัย
ภาคผนวก ๒ แบบบันทึกการประเมินมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
ภาคผนวก ๓ คำสั่งคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง
ความสำคัญของเด็กปฐมวัย
ปฐมวัยเป็นวัยเริ่มต้นของชีวิตและพัฒนาการในทุกด้าน เป็นช่วงวัยที่พัฒนาการทางด้านต่างๆ เป็นไปอย่างรวดเร็วที่สุดและเป็นฐานรากที่สาคัญสาหรับพัฒนาการในช่วงวัยต่อๆ ไป เด็กในวัยนี้จึงเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีความสาคัญอย่างยิ่งของประเทศ เด็กปฐมวัยที่ได้รับ
การดูแลอย่างเหมาะสมตามช่วงวัยจะสามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพและจะเป็นกาลังสาคัญของประเทศชาติต่อไปในอนาคต ดังคำกล่าวของ ศ.ดร.เจมส์ เจ เอคแมน นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่ว่า “การลงทุนพัฒนาเด็กปฐมวัย
เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าให้ผลตอบแทนแก่สังคมที่ดีที่สุดในระยะยาว”
ดังนั้น การพัฒนาเด็กปฐมวัยจึงเป็นรากฐานที่มีผลต่อคุณภาพและประสิทธิภาพของคนตลอดชีวิตและเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด กล่าวคือเด็ก เยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีมีความสามารถเรียนรู้ ทางานได้เก่งและเป็นพลเมืองดีที่จะนำสู่ความสำเร็จในสังคมที่ท้าทายใน
ศตวรรษที่ ๒๑ ต้องได้รับโอกาสการพัฒนาอย่างรอบด้านในช่วงปฐมวัย แต่คุณ ภาพของเด็กปฐมวัยยังเป็นจุดอ่อนที่เข้าขั้นวิกฤต ของประเทศไทยที่จำเป็นต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน รัฐ และทุกภาคส่วน พ่อแม่ผู้ปกครอง ครอบครัว ชุมชน สังคม บุคลากรทางการแพทย์และ
สาธารณสุข ครู/ผู้ดูแลเด็ก โรงเรียน องค์กรท้องถิ่นทุกระดับ บุคลากรพัฒนาสังคมทั้งภาครัฐเอกชน ภาคศาสนาและภาคธุรกิจ จึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในความสำคัญของช่วงปฐมวัย ตระหนักในพันธกิจและลงมือช่วยกันทำให้เด็กปฐมวัยมีโอกาสพัฒนาอย่างเต็ม
ศักยภาพในภาวะแวดล้อมที่ปลอดภัย
“เด็กปฐมวัย” ตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ให้ความหมายของเด็กปฐมวัยว่า หมายถึง เด็กซึ่งมีอายุยังไม่ครบหกปีบริบูรณ์ และให้หมายความรวมถึงทารกในครรภ์มารดาด้วย
อุดมการณ์และหลักการในการจัดการศึกษาเด็กปฐมวัยของชาติ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้ให้ความสาคัญกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยไว้หลายมาตรา คือ
มาตรา ๕๔ วรรคสอง กำหนดว่า “...รัฐต้องดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษา เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย โดยส่งเสริม
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย”
มาตรา ๒๕๘ ให้ดาเนินการปฏิรูปประเทศให้เกิดผล จ. ด้านการศึกษา (๑) ให้สามารถเริ่มดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษา ตามมาตรา ๕๔ วรรคสอง เพื่อให้เด็กเล็ก
ได้รับการพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัยโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๕) และฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๓) มาตรา ๑๘ (๑) กำหนดให้การจัดการศึกษาปฐมวัยจัดในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ได้แก่ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กก่อน
เกณฑ์ของสถาบันศาสนา ศูนย์บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของเด็กพิการและเด็กซึ่งมีความต้องการพิเศษหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมาตรา ๑๓ (๑) ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ในการสนับสนุนจากรัฐ ให้มีความรู้
ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดู และการให้การศึกษาแก่บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล ฯลฯ