วิธีการหาเสียง และลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ระเบียบ กกต. ว่าด้วย วิธีการหาเสียง
และลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561
ระเบียบ กกต. ฉบับนี้ กำหนดห้ามผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใดนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการหาเสียงเลือกตั้ง และกำหนดห้ามผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใดหาเสียงเลือกตั้งในลักษณะ ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ประกอบอาชีพหรือเป็นเจ้าของกิจการเกี่ยวกับรายการทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่อมวลชน สื่อโฆษณา เช่น นักแสดง นักร้อง นักดนตรี พิธีกร สื่อมวลชน เป็นต้น ใช้ความสามารถ หรือวิชาชีพดังกล่าว เพื่อเอื้อประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้งแก่ผู้สมัครอื่น หรือพรรคการเมือง
กรณีตามข้อ (1) มิให้ใช้บังคับแก่ผู้สมัครที่ใช้ความรู้ความสามารถทางศิลปะของตน หาเสียงเลือกตั้ง ให้แก่ตนเองโดยไม่ใช้อุปกรณ์ในการแสดง
(2) แจกจ่ายเอกสารเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้งโดยวิธีการวาง หรือโปรยในที่สาธารณะ
(3) หาเสียงเลือกตั้งโดยใช้ถ้อยคำที่รุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย หรือปลุกระดม
(4) ช่วยเหลือเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ให้แก่ผู้ใด ตามประเพณีต่าง ๆ
นอกจากนี้ ยังระบุถึงการ 'หาเสียงออนไลน์' เอาไว้ว่า ในการหาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การหาเสียงผ่านทางเว็บไซต์ โซเซียลมีเดีย ยูทูป แอปพลิเคชัน อีเมล์ เอสเอ็มเอส และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นทุกประเภท ซึ่งจะต้องแจ้งวิธีการหาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามแบบฟอร์มที่ กกต. กำหนดให้
ซึ่งการหาเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์ หากผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใด ทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมืองหรือเป็นการต้องห้าม ให้ กกต. สั่งให้แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือลบข้อมูล และให้เลขาธิการ กกต. แจ้งให้ผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใด ทำการแก้ไข หากไม่แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือลบข้อมูลภายในเวลาที่กำหนด ให้เลขาธิการ กกต. แจ้งหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และผู้ให้บริการ เพื่อพิจารณาดำเนินการ หากมีค่าใช้จ่าย ให้ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองนั้นเป็นผู้รับผิดชอบ และสามารถนำมาเป็นเหตุให้ กกต. ดำเนินการสืบสวนหรือไต่สวนตามระเบียบกกต.ว่าด้วยการสืบสวน การไต่สวนและการวินิจฉัยชี้ขาดได้
ซึ่งโทษของการหาเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์ ถูกระบุไว้ในกฎหมายเลือกตั้ง (พ.ร.ป.ว่าด้วย การเลือกตั้ง ส.ส.) มาตรา 156 ว่า ผู้ใดฝ่าฝืน หรือหาเสียงเลือกตั้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไข ที่คณะกรรมการกำหนด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อ่านเพิ่มเติมที่ :
www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/006/T_0006.PDF
และลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561
ระเบียบ กกต. ฉบับนี้ กำหนดห้ามผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใดนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการหาเสียงเลือกตั้ง และกำหนดห้ามผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใดหาเสียงเลือกตั้งในลักษณะ ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ประกอบอาชีพหรือเป็นเจ้าของกิจการเกี่ยวกับรายการทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่อมวลชน สื่อโฆษณา เช่น นักแสดง นักร้อง นักดนตรี พิธีกร สื่อมวลชน เป็นต้น ใช้ความสามารถ หรือวิชาชีพดังกล่าว เพื่อเอื้อประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้งแก่ผู้สมัครอื่น หรือพรรคการเมือง
กรณีตามข้อ (1) มิให้ใช้บังคับแก่ผู้สมัครที่ใช้ความรู้ความสามารถทางศิลปะของตน หาเสียงเลือกตั้ง ให้แก่ตนเองโดยไม่ใช้อุปกรณ์ในการแสดง
(2) แจกจ่ายเอกสารเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้งโดยวิธีการวาง หรือโปรยในที่สาธารณะ
(3) หาเสียงเลือกตั้งโดยใช้ถ้อยคำที่รุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย หรือปลุกระดม
(4) ช่วยเหลือเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ให้แก่ผู้ใด ตามประเพณีต่าง ๆ
นอกจากนี้ ยังระบุถึงการ 'หาเสียงออนไลน์' เอาไว้ว่า ในการหาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การหาเสียงผ่านทางเว็บไซต์ โซเซียลมีเดีย ยูทูป แอปพลิเคชัน อีเมล์ เอสเอ็มเอส และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นทุกประเภท ซึ่งจะต้องแจ้งวิธีการหาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามแบบฟอร์มที่ กกต. กำหนดให้
ซึ่งการหาเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์ หากผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใด ทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมืองหรือเป็นการต้องห้าม ให้ กกต. สั่งให้แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือลบข้อมูล และให้เลขาธิการ กกต. แจ้งให้ผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใด ทำการแก้ไข หากไม่แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือลบข้อมูลภายในเวลาที่กำหนด ให้เลขาธิการ กกต. แจ้งหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และผู้ให้บริการ เพื่อพิจารณาดำเนินการ หากมีค่าใช้จ่าย ให้ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองนั้นเป็นผู้รับผิดชอบ และสามารถนำมาเป็นเหตุให้ กกต. ดำเนินการสืบสวนหรือไต่สวนตามระเบียบกกต.ว่าด้วยการสืบสวน การไต่สวนและการวินิจฉัยชี้ขาดได้
ซึ่งโทษของการหาเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์ ถูกระบุไว้ในกฎหมายเลือกตั้ง (พ.ร.ป.ว่าด้วย การเลือกตั้ง ส.ส.) มาตรา 156 ว่า ผู้ใดฝ่าฝืน หรือหาเสียงเลือกตั้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไข ที่คณะกรรมการกำหนด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อ่านเพิ่มเติมที่ :
www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/006/T_0006.PDF