ประวัติวันลอยกระทง ความเป็นมาและความเชื่อ ของเทศกาลลอยกระทง สุขสันต์วันลอยกระทง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
สุขสันต์วันลอยกระทง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
ประเพณีลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ้งหากเทียบการนับเดือนในปัจจุบัน จะตรงกับปลายเดือนพฤศจิกายน ประเพณีลอยกระทงมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ริเริ่มโดยนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬารัตน์ เหตุผลที่ประดิษฐ์กระทงก็เพื่อขอขมาพระแม่คงคา ที่เราอาศัยน้ำดื่มกินและใช้ประโยชน์สารพัด เมื่อลอยกระทง เราจะจุดธูปเทียนที่ปักบนกระทง อธิฐานขอพรขอขมาพระแม่คงคาแล้วลอยลงแม่น้ำลำคลอง
***
เดิมเชื่อกันว่า ประเพณีลอยกระทง เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระสนมเอกในพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่า “พิธีจองเปรียง” ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 1
ต่อมาในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางนิยมประดิษฐ์กระทงเพื่อประกวดแข่งขันกัน ซึ่งใช้แรงงานและแรงคนเป็นจำนานมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงมองเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลืองจึงยกเลิกการประดิษฐ์กระทงใหญ่ไป และหันมาทำเรือลอยประทีปถวายองค์ละลำแทนกระทงใหญ่ ซึ่งเรียกว่า “เรือลอยประทีป”
ความเชื่อของเทศกาลลอยกระทง
1) ลอยกระทง เพื่อเป็นการแสดงความสำนึกบุญคุณของแม่น้ำ ที่ให้เราได้อาศัยดื่มกิน อีกทั้งขออภัยพระแม่คงคาที่ทำให้แหล่งน้ำต่างๆ ไม่สะอาด
2)ลอยกระทง เพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที
3) ลอยกระทง เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ โดยอาศัยความเชื่อในการลอยความทุก ความโศก โรคภัยไข้เจ็บ และสิ่งไม่ดีๆ ต่างให้ไปกับแม่น้ำ
4) ลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคฺตฺ ที่ชาวไทยภาคเหนือเคารพ ซึ่งบำเพ็ญบริกรรมคาถาอยู่ในส่วนลึกของท้องทะเล หรือสะดือทะเล
5) ลอยกระทง เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีที่เก่าแก่ของไทยแต่โบราณ อีกทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับชาวไทยและ ชาวต่างชาติ
6) เพื่อเป็นการนัดพบปะสังสรรค์กันในหมู่ครอบครัว ให้ได้อยู่ร่วมกันในวันลอยกระทง
7) เพื่อส่งเสริมฝีมืองานอาชีพ อีกทั้งส่งเสริมให้แสดงความคิดสร้างสรรค์ในการแข่งขันทำกระทง การประกวดนางนพมาศ เป็นประจำทุกปี ที่ต้องมีในวันลอยกระทง
2)ลอยกระทง เพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที
3) ลอยกระทง เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ โดยอาศัยความเชื่อในการลอยความทุก ความโศก โรคภัยไข้เจ็บ และสิ่งไม่ดีๆ ต่างให้ไปกับแม่น้ำ
4) ลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคฺตฺ ที่ชาวไทยภาคเหนือเคารพ ซึ่งบำเพ็ญบริกรรมคาถาอยู่ในส่วนลึกของท้องทะเล หรือสะดือทะเล
5) ลอยกระทง เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีที่เก่าแก่ของไทยแต่โบราณ อีกทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับชาวไทยและ ชาวต่างชาติ
6) เพื่อเป็นการนัดพบปะสังสรรค์กันในหมู่ครอบครัว ให้ได้อยู่ร่วมกันในวันลอยกระทง
7) เพื่อส่งเสริมฝีมืองานอาชีพ อีกทั้งส่งเสริมให้แสดงความคิดสร้างสรรค์ในการแข่งขันทำกระทง การประกวดนางนพมาศ เป็นประจำทุกปี ที่ต้องมีในวันลอยกระทง